NotesWhat is notes.io?

Notes brand slogan

Notes - notes.io

Basic Rebound Guide

แก้ไข
Basic Rebound Guide
โดย Napon Akkaranggoon เมื่อ 25 เมษายน 2015 เวลา 0:34 น.

เกริ่นนำ


ขออนุญาตปัดความรับผิดชอบไว้ล่วงหน้าเลยว่า

ผมไม่ใช่เทพแห่งการรีบาว และไม่เคยลงแข่ง

ไม่ได้ชนะติดกันรัว ๆ และไม่มีสถิติรีบาวสวยหรูจะมาอวด


ที่เขียนไกด์ขึ้นมาหลัก ๆ

คืออยากแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์

ในฐานะคนที่เล่นทั้ง C และ PF มาตั้งแต่ FS 1

ยาวมาจนถึง FS 2 คนนึง


ปัจจัยหลักในการรีบาว


การรีบาวที่ดีนั้น สำหรับตัวผมเอง

จะแบ่งปัจจัยหลักเป็น 3 ส่วน ในอัตราส่วนดังนี้


ฝีมือ 50%

ปิง 40%

ดวง 10%


เหตุผลที่ผมให้น้ำหนักปิงมากถึง 40%

ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านคงเคยประสบกับบางเกม

ที่แม้กระทั่ง SF หรือแม้แต่ SG

สามารถแย่งท่านรีบาวไปได้ต่อหน้าต่อตา


นั่นแหละครับคือเหตุผลของเรื่องปิง


ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยว่า


"ในกรณีที่ฝีมือพอ ๆ กัน คนที่ปิงดีกว่า

จะสามารถรีบาวได้แบบชนะขาด"


จึงขอให้เพื่อน ๆ เผื่อใจและเห็นใจคนเล่นใต้แป้น

ไม่ว่าจะ C/PF ไว้บ้างนะครับ ว่าบางเกมทำไมรีไม่ได้เลยจริง ๆ


ผมเคยเล่นมาตั้งแต่ Ping 200 จนเหลือ 140 จนปัจจุบัน 70

และบางวันเน็ตเป็นใจ ได้เล่นแถว 30 นี่ เหมือนตายแล้วเกิดใหม่


ดังนั้นขอย้ำชัด ๆ นะครับ ว่าเฉพาะกรณีที่ฝีมือพอ ๆ กันเท่านั้น

เพราะถ้าฝีมือไม่เท่ากัน แม้ปิงเราจะไม่ต่ำเท่า

มันยังพอมีหนทางในการรับมือกับคนที่ปิงต่ำกว่าได้อยู่ครับ


ส่วนเรื่องของดวงนั้นก็ง่าย ๆ ครับ


บางครั้งลูกมันกระเด็นไปไกลเกินเอื้อม

จนเลยกลางสนาม และบังเอิญมีคนอื่นยืนอยู่แถวนั้นพอดี


กรณีแบบนี้ก็สุดจะรีบาวได้แน่นอนครับ


คำถามยอดฮิต C หรือ PF ดีกว่า


ถ้าตอบแบบตรง ๆ เลยก็ C ชนะขาดครับ

เพราะเป็นตำแหน่งที่เกิดมาเพื่อทำหน้าที่นี้โดยตรง

นอกจาก Stat ติดตัวตั้งแต่เลเวล 1 ที่เอื้อต่อการรีบาว

C ยังเป็นตำแหน่งเดียวที่มี Power Rebound

ไว้สนับสนุนการรีบาวอีกต่อนึงด้วย


ดังนั้น "ถ้าคุณชอบหรือต้องการยืนคุมใต้แป้นเป็นหลัก"

เล่น C เถอะครับ เพราะ PF สามารถทำได้มากกว่านั้นเยอะ


แต่ไม่ได้แปลว่า PF จะรีบาวสู้ C ไม่ได้นะครับ

แค่ความสามารถโดยรวมนั้น C เกิดมาเพื่อสิ่งนี้จริง ๆ ครับ


ภายใต้สภาพที่ทุกอย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด

โอกาสที่ PF จะแย่ง C รีได้นั้นถือว่าลำบากพอควรครับ

เพราะค่า Atrribute Rebound ของ C สูงกว่า PF โดยธรรมชาติ


และในช่วงเลเวลต่ำกว่า 40 PF จะ Box Out สู้ C ยากมาก

เพราะค่า Tussle ก็ต่ำกว่ามากเช่นกัน

(แต่พอ PF เลเวล 40 จะมี Box Out Swarm

ทำให้สามารถแก้ปัญหานี้ได้ในระดับนึง)


ทั้งนี้ในความเป็นจริง มีหลายปัจจัยที่ควบคุมให้เท่ากันไม่ได้ ซึ่งนั่น

อาจทำให้ C รีบาวแพ้ PF ไม่ว่าจะเป็นปิง ความสามารถส่วนตัว

หรือแม้แต่กำลังทรัพย์ในการซื้อชุด หรือเปิดหาและอัพเกรดการ์ดดี ๆ

รวมไปถึงการทำของเล่นที่บวกค่ารีบาว


ค่า Rebound ที่สามารถทำได้


C ทุกคนเริ่มต้นที่ 191

PF ทุกคนเริ่มต้นที่ 178

(PF น้อยกว่าอยู่ 13)



อัพรีบาวจนสุด +20

ใส่รองเท้ารีบาว +10

ใส่การ์ด SP Edition #1 ตีบวกสุด +19


โดยรวม ๆ สำหรับ C จะอยู่ที่ประมาณ 240

ส่วนของ PF จะอยู่ที่ 227


และยังมีโอกาสที่จะได้จากพวก Toy อีก 20-30 นะครับ

แต่ผมไม่นับเพราะมันติดไม่ตลอด


และยังมี Stat จาก C พิเศษ อย่าง Grace อีก +4 ครับ

หรือ PF พิเศษอย่าง Liu อีก +8 ครับ


พื้นฐานการรีบาว


1.หาความสูงและความกว้างในการรีบาวของตัวคุณ


ความสูงและความกว้างในการรีบาวนั้น จะมาจากค่า Attribute Rebound ล้วน ๆ

นั่นหมายถึง ยิ่งมีค่านี้สูง คุณจะสามารถรีบาวลูกที่อยู่สูงขึ้น และห่างตัวได้มากขึ้น


วิธีหาก็ง่าย ๆ


- สร้างห้องซ้อมเล่นกับเพื่อน ให้เพื่อนยิงไม่ลงให้เราทดลองรีที่ระยะต่าง ๆ

- เล่น Rebound Challenge (ไอคอนรูปนาฬิกามีเลข 60 ที่ขวาล่าง)

- กด Practice ที่สกิล Box Out/Tip in/Put Back Dunk คอมจะยิงไม่ลงให้เรารีบาวเรื่อย ๆ


ทำเรื่อย ๆ จนเรารู้ระยะสูงสุด และระยะกว้างสุดที่เราสามารถรีได้

แนะนำให้หาระยะใหม่ทุกครั้งที่ Rebound เราเพิ่มขึ้นประมาณ 10 แต้มนะครับ

(หรือถ้าขยันจะหาระยะเรื่อย ๆ ก็ได้ แต่ส่วนตัวผม ระยะมันเริ่มชัดแถว ๆ 10 แต้มครับ)


2.ศึก Box Out ชิงตำแหน่ง


เมื่อเรารู้ระยะแล้ว เราก็ต้องวิ่งเข้าไปยืนรอลูกในระยะของเราถูกไหมครับ

นั่นคือที่มาของการใช้งาน Box Out ครับ


การใช้ Box Out จะต้องกดซื้อสกิลและติดตั้งให้เรียบร้อยก่อน

โดยทั้ง C และ PF จะสามารถใช้ได้ตั้งแต่เลเวล 12


วิธีใช้ Box Out คือ ทันทีที่บอลลอยอยู่กลางอากาศ

(ไม่ว่าจะเกิดจากการยิงหรือการ Block ที่ทำให้ลูกลอย)

ให้กด W ค้างไว้ แล้วตัวเราจะหันหน้าเข้าหาแป้นพร้อมกางมือ


ทีเด็ดของการ Box Out คือ เราจะสามารถเดินไปดันคนอื่นได้

โดยส่วนที่ทรงพลังที่สุดในขณะที่เรา Box Out อยู่ คือตรูดของเราครับ


เราสามารถใช้ตรูดกระแทกและดันคนอื่นได้แบบไม่ยั้ง

โดยนั่นจะทำให้คนที่ถูกดันชะงักเป็นระยะ

ซึ่งเทคนิคนี้เอง ที่จะช่วยให้เราสามารถรีบาวชนะคนที่ปิงต่ำกว่าได้


ดังนั้น ทริคง่าย ๆ ทริคนึงในการรีบาวคือ

ไม่ต้องสนว่าบอลจะลอยไปทางไหน

ไปอยู่ข้างหน้าตัวรีของอีกฝ่าย กด Box Out

แล้วใช้ตรูดกระแทกเขาไว้รัว ๆ ครับ


(แน่นอนว่าตัวรีที่ดี จะไม่ยอมให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นง่าย ๆ

นั่นคือเหตุผลที่หากฝีมือพอกัน แต่ปิงอีกฝ่ายดีกว่า

เรานี่แหละ จะเป็นฝ่ายโดน Box Out กระแทกหน้าแทน)


และการใช้ Box Out ดันกันอีกทางหนึ่ง คือการดันกันจากด้านข้างครับ

หาก Box Out ชนกันสองคนจากด้านข้าง (ซ้ายหรือขวา)

ตรงจุดนี้จะเป็นการวัด Tussle กัน คนที่ Tussle น้อยกว่าจะชะงักเสียจังหวะครับ


นี่เป็นเหตุผลนึงที่ PF ช่วงต่ำกว่า 40 (ก่อนมี Box Out Swarm)
อาจจะจำเป็นต้องอัพ Tussle ขึ้นมา เพื่อให้สูสีกับ C ที่ไม่เน้นอัพ Tussle


(แต่เพราะค่าตั้งต้นของ Tussle PF น้อยกว่า C ถึง 25

ถ้าเจอ C อัพ Tussle หรือใส่ของบวกเหมือนกัน ยังไงก็ดันแพ้อยู่ดีครับ)


สรุปเรื่องของการใช้ Box Out นะครับ


- คนอยู่หน้าได้เปรียบเสมอ

- Tussle ใช้ดันกันในด้านข้าง


สำหรับ PF เลเวล 40 ขึ้นไป จะได้ Box Out Swarm มา

ซึ่งใช้แก้ปัญหาการโดน Box Out ดันให้ชะงักได้

คือสามารถหมุนตัวหลบการกระแทกเฉียงไปทางหน้าซ้ายหรือหน้าขวาได้


(แต่ก็ไม่ได้ทำให้แย่งตำแหน่งของ C ได้ตรง ๆ นะครับ

แค่ป้องกันการโดนดันให้เสียจังหวะได้ในระดับนึง)


3. สมาธิสูงสุด จังหวะลูกกระทบขอบห่วง


จุดชี้ชะตาสำคัญสุด หลังจากที่เราอยู่ในตำแหน่งพร้อมรีบาว

จะเป็นเรื่องของการดูพฤติกรรมการ "กระดอน" ของลูกครับ


โดยที่บางคนจะเรียกจังหวะแรกสุดที่ลูกบาสกะพริบ

หลังจากกระทบขอบห่วงว่า Kal

ซึ่งหมายถึงจังหวะแรกสุดที่เราสามารถรีบาวได้


โดยการ Kal Rebound นั้น อาจสามารถแบ่งได้

เป็นการ Kal ต่ำและ Kal สูง


โดยที่การ Kal ต่ำ แทบทุกคนจะสามารถรีบาวได้หมดครับ

ไม่จำกัดว่าต้องเป็น C หรือ PF

เพราะมันคือการที่ลูกกระแทกขอบห่วง

หรือวิ่งวนบนขอบห่วง ก่อนจะเลี้ยวตกออกมา


จังหวะนั้น ใครที่อยู่ใกล้ ๆ ลูกแล้วกด D ก่อน

จะได้ลูกไปในทันที นี่คือจังหวะที่แม้แต่ G ก็รีได้ครับ


แต่ในอีกจังหวะนั้น ลูกจะกระทบขอบห่วง แล้วกระดอนขึ้นสูง

ก่อนที่จะเริ่มย้อยตกลงมา แล้วก็กะพริบ

จังหวะนี้บางคนจะเรียกว่า Kal สูง


เราจะได้มีโอกาสรีลูก Kal สูง แน่นอนทุกครั้งก่อนเริ่มเกม

ซึ่งก็คือตอน Jump Ball นั่นเองครับ


ถ้าไม่นับการ Jump Ball ส่วนใหญ่ในการ Kal สูงนั้น

เราจะมีเวลามากพอให้เตรียมตัวไปยืนรอที่จุดตกของลูก

และจะเป็นการแข่งกันว่า


"ใครแม่นจุดสูงสุดในการรีของตัวเองและกระโดดก่อน"


ซึ่งจุดนี้ นอกจากค่ารีบาวจะมีผลตรง ๆ แล้ว ปิงจะมีส่วนอย่างมาก

เพราะคนที่ปิงสูงกว่า แม้จะเห็นลูกตกถึงจุดสูงสุดที่เรารีได้แล้วกด

แต่คนที่ปิงต่ำกว่าจะเห็นก่อนเราเสมอครับ


*Ping คืออะไร


ปิงหมายถึงเวลาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างคอมของเรา

กับเซิร์ฟเวอร์ที่เราเล่นเกม ยิ่งค่านี้ต่ำเท่าไหร่ แสดงว่า

คอมของเรารับส่งข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ได้เร็วเท่านั้นครับ


ดังนั้น ในศึกการรีบาว ไม่สามารถเถียงได้เลยว่า

คนที่ปิงต่ำกว่า ไม่ว่ายังไงก็จะได้เปรียบเสมอ


ยกตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ

ให้ปิงเปรียบเสมือนยานพาหนะที่เราใช้เดินทางจากกทม.ไปเชียงใหม่


คนที่ปิงต่ำมาก ๆ (20-30) เปรียบเสมือนคนที่ไปด้วยเครื่องบิน ชั่วโมงเดียวถึง

คนที่ปิงกลาง ๆ (31-70) เปรียบเสมือนคนที่ไปด้วยรถไฟความเร็วสูง สามชั่วโมงถึง

คนที่ปิงสูง ๆ (71 ขึ้นไป) เปรียบเสมือนคนที่ไปด้วยรถทัวร์ เก้าชั่วโมงถึง


คนที่ปิงต่ำย่อมไปถึงจุดหมายก่อน จึงมีเวลาทำอะไรได้มากกว่าคนที่ไปถึงทีหลังเสมอ


(เป็นแค่ตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ เพราะในความเป็นจริง

ปิงต่างกันแค่ระดับเสี้ยววินาทีครับ แต่เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะลำดับว่าใครกดรีบาวก่อน

และใครจะได้ลูกจากปิง ดังนั้น แม้จะแค่เสี้ยววินาที

ก็มีผลมากพอให้เรารีบาวได้ก่อนหรือหลังเกือบตลอดแล้ว)



4. ประสบการณ์คาดเดาทิศทางของลูก


ตรงจุดนี้ผมก็ยังอ่อนด้อยมากนะครับ แต่คนที่รีบาวเก่ง ๆ หลายคน

มักจะสามารถเดาจุดตกล่วงหน้าของลูกได้จากลูกยิงประเภทต่าง ๆ

(มิดเดิลหรือ 3 P) รวมถึงระยะห่างและมุมที่ยิง


ซึ่งตรงจุดนี้ ถ้าเราฝึกรีบาวบ่อย ๆ และหมั่นสังเกตตั้งทฤษฎีขึ้นมา

เราก็จะมีโอกาสไปรอลูกตกได้แม่นยำราวกับเห็นอนาคตครับ


5. การเอาชนะปัญหา Ping


จริง ๆ เรื่อง Ping นี้เราสามารถเอาชนะได้นะครับ

เพียงแต่มันยากพอสมควร และได้ผลเฉพาะลูก Kal สูง

วิธีง่าย ๆ คือ ให้โดดก่อนที่มันควรจะเป็นซักแปบนึง


(เพราะปิงเราสูงกว่า เราจะเห็นลูกตกช้ากว่า เลยต้องรีก่อน

ถ้าเปรียบกับตัวอย่างเรื่องการเดินทางที่ผมยกไว้ก่อนหน้านี้

ก็เหมือนเราออกเดินทางก่อนเขา เพื่อให้ไปถึงก่อนนั่นเอง)


วิธีฝึกง่าย ๆ คือฝึกตอน Jump Ball ครับ


แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ถ้าบังเอิญเน็ตเราเร็วขึ้น (ปิงต่ำลง)

เราก็ต้องมาปรับจูนกันใหม่อีก ลองบวกลบคูณหารดูเองนะครับ


สกิลที่เกี่ยวกับการรีบาว


นอกจาก Box Out ที่พูดไปแล้ว สกิลหลัก ๆ ที่น่าสนใจจะมีดังนี้ครับ


Tip in


ทิปอินจะเป็นการเดาะลูกที่เพื่อนเรายิงไม่ลงเข้าห่วง

ท่านี้จะออกไวกว่ารีบาวเสมอ และไม่สามารถถูกบล็อกซ้ำได้

รวมทั้งมีดีเลย์หลังการทิปต่ำกว่ารีบาว ดังนั้น แม้ % การทิปวืด

จะมีสูงในระดับนึง (ผมคิดว่ามีโอกาสราว ๆ 1/3 ที่จะทิปวืด)

เราก็สามารถทิปซ้ำได้ ถ้ายังอยู่ในตำแหน่งใกล้ลูก และไม่โดนแย่งรี


สกิลนี้ควรมีติดตัวไว้ยาว ๆ จนกระทั่งได้ Put Back Dunk

หรือบางคนอาจจะชอบมากกว่าก็ได้ครับ


Put back dunk


ท่านี้จะต่างจากทิปอินคือมีดีเลย์หลังใช้สูง

แต่ความแม่นยำก็สูงเช่นกัน (ผมเชื่อว่าไม่ต่ำกว่า 80%)

ที่สำคัญคือ หล่อทุกครั้งที่กดติดอีกต่างหาก


โดยส่วนตัวผมชอบท่านี้มากกว่าทิปอิน เพราะความแม่น

และความเท่เป็นหลัก (เคยหัวเสียจากการทิปวืด 3 หนติดมาแล้ว)


Chip out


สำหรับคนที่เคยเล่น FS 1 มาก่อน ขอให้ลืมระยะดูดสุดโกงไปเลยนะครับ

เพราะระยะชิปเอาท์ภาคนี้ผมคิดว่ากว้างกว่ารีบาวปกตินิดเดียว

หรือดีไม่ดีก็พอ ๆ กันเลยครับ


จุดต่างคือ ถ้ากดพร้อมรีบาว ชิปเอาท์จะปัดลูกได้ก่อนเสมอ

และชิปเอาท์มีดีเลย์หลังใช้ต่ำกว่ารีบาว ทำให้เราชิปตัดจังหวะอีกฝ่ายรี

พออีกฝ่ายติดดีเลย์รีบาว เราก็โดดรีบาวแทนได้ครับ


และที่สำคัญ ถ้าเป็นลูกที่เพื่อนเรายิงไม่ลง เรายังสามารถชิปเอาท์

แล้วต่อด้วยทิปอินหรือพุทแบ็คดังค์ได้อีกด้วยครับ


ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราไม่อยู่ในระยะรีบาวถึงแต่แรก ชิปไปก็เท่านั้นนะครับ

อีกข้อคือ ลูกชิปเอาท์มีโอกาสที่จะลอยต่ำจนโดนเพื่อนในทีมตรงข้าม

แย่งรีไปแทนได้ด้วย ดังนั้นควรฝึกใช้ให้ถูกจังหวะนะครับ

กดชิปเอาท์มั่วจนเป็นนิสัย อาจจะเศร้าใจในภายหลังได้


Power Rebound


สกิลสุดเท่ที่ทำให้ C หล่อมากภาคนี้ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของ C ครับ

จากประสบการณ์ใช้งานส่วนตัวนะครับ เมื่อใช้แล้ว ความสูงในการรีของเรา

จะหายไปในระดับนึง โดยแลกมาซึ่งความกว้างที่โกงมาก ประมาณว่า

ขนาดเรายืนข้าง ๆ PF อีกคนที่กาง Box Out (โดยไม่เข้าไปเบียดด้วย)

แล้วลูกหล่นใส่มือ PF ในขณะที่เรากด Power Rebound ก่อน

เรายังมีโอกาสแย่งรีสำเร็จครับ


(ผมคิดว่าระยะดูดน้อง ๆ ชิปเอาท์ภาคก่อนเลย)


แต่อย่ากดใช้จนเป็นนิสัยนะครับ เพราะไม่สามารถใช้ Kal สูงได้ครับ


Tap Pass


สกิลนี้จะทำงานคล้าย ๆ กับ Block Pass ครับ ก็คือ

แทนที่เราจะรีบาวแล้วเอาลูกมาถือไว้ในมือ

เราจะส่งต่อลูกไปให้เพื่อนที่อยู่ใกล้ที่สุดแทน


ทว่า มีโอกาสที่สกิลจะล้มเหลวนะครับ

(นึกถึงเวลา PG Pass in air แป้ก)

ลูกมันจะกระดอนลงพื้นแทน


โดยส่วนตัวผมคิดว่าแล้วแต่คนชอบครับ

แต่ผมไม่ชอบที่มันมีโอกาสส่งลงพื้นด้วย

ก็เลยไม่เคยใช้งานจริงจังครับ


สรุป


อันที่จริงแล้ว ถ้าถาม C หรือ PF ที่รีบาวเก่ง ๆ หลาย ๆ ท่าน

ส่วนใหญ่มักจะตอบว่า มันเป็นประสบการณ์มากกว่า

ซึ่งผมก็ขอยืนยันอีกเสียงว่าจริงที่สุดนะครับ อยากรีบาวเก่ง

ต้องรีเยอะ ๆ ครับ


ไปฝึกใน Challenge จะช่วยได้เยอะมาก (แต่สุดท้ายจะมีปัญหาเรื่องปิงอีก)


และแถมท้ายสำหรับคนที่รีบาวไม่ได้ ไม่ว่าจะเพราะไม่เก่งหรือปิงหรืออื่น ๆ

ควรถามตัวเองว่าใจเรารักทางนี้จริง ๆ ไหม เพราะถ้าเป็นในบอร์ดต่างชาติ

เขาจะมีคำแนะนำว่า ใครปิงเกิน 60 ไม่ควรเล่นตัวรีบาว


ทั้งนี้สำหรับตัวผมเอง ผมรีมาตั้งแต่ปิง 200 ยัน 140 ยัน 70

ก็ยังรีได้บ้างไม่ได้บ้างต่อไป และผมก็สนุกที่ได้ฝึกตัวเองครับ
     
 
what is notes.io
 

Notes.io is a web-based application for taking notes. You can take your notes and share with others people. If you like taking long notes, notes.io is designed for you. To date, over 8,000,000,000 notes created and continuing...

With notes.io;

  • * You can take a note from anywhere and any device with internet connection.
  • * You can share the notes in social platforms (YouTube, Facebook, Twitter, instagram etc.).
  • * You can quickly share your contents without website, blog and e-mail.
  • * You don't need to create any Account to share a note. As you wish you can use quick, easy and best shortened notes with sms, websites, e-mail, or messaging services (WhatsApp, iMessage, Telegram, Signal).
  • * Notes.io has fabulous infrastructure design for a short link and allows you to share the note as an easy and understandable link.

Fast: Notes.io is built for speed and performance. You can take a notes quickly and browse your archive.

Easy: Notes.io doesn’t require installation. Just write and share note!

Short: Notes.io’s url just 8 character. You’ll get shorten link of your note when you want to share. (Ex: notes.io/q )

Free: Notes.io works for 12 years and has been free since the day it was started.


You immediately create your first note and start sharing with the ones you wish. If you want to contact us, you can use the following communication channels;


Email: [email protected]

Twitter: http://twitter.com/notesio

Instagram: http://instagram.com/notes.io

Facebook: http://facebook.com/notesio



Regards;
Notes.io Team

     
 
Shortened Note Link
 
 
Looding Image
 
     
 
Long File
 
 

For written notes was greater than 18KB Unable to shorten.

To be smaller than 18KB, please organize your notes, or sign in.