NotesWhat is notes.io?

Notes brand slogan

Notes - notes.io

"บ้านชีวาทิตย์” เป็นบ้านที่ได้รับการออกแบบให้เป็นต้นแบบของการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นเป็นหลังแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากประสิทธิภาพการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์อันสูงสุดแล้ว ยังมีการนำเอาปัจจัยอื่นๆที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยมาใช้ด้วย จึงสามารถกล่าวได้ว่า บ้านชีวาทิตย์ เป็นบ้านต้นแบบของการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

Copyright© 2004 Viriyah Energy Design Architecture Co., Ltd. All rights reserved.
Develop and Design By Mr.Somkiat Nakornthai
Tel.(662)6450-588 Fax.(662)645-0578
Contact Us:[email protected]
· โครงการบ้านชีวาทิตย์
ติดประกาศ Monday 17 May 04@ 09:53:16 ICT โดย Webmaster

"บ้านชีวาทิตย์” เป็นบ้านที่ได้รับการออกแบบให้เป็นต้นแบบของการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นเป็นหลังแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากประสิทธิภาพการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์อันสูงสุดแล้ว ยังมีการนำเอาปัจจัยอื่นๆที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยมาใช้ด้วย จึงสามารถกล่าวได้ว่า บ้านชีวาทิตย์ เป็นบ้านต้นแบบของการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนที่แท้จริง

แนวความคิดเบื้องต้นของการออกแบบ คือการผสานความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ผนวกกับความเป็นไปได้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม และเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้บ้านชีวาทิตย์นอกจากจะประหยัดพลังงานได้อย่างสูงสุดแล้ว ยังสามารถผลิตพลังงานใช้ได้จนเหลือใช้สำหรับกิจกรรมหลัก ซึ่งบ้านประเภทอื่นไม่สามารถทำได้ ความโดดเด่นของบ้านชีวาทิตย์มีดังต่อไปนี้
สามารถติดตั้งเซลล์แสงแสงอาทิตย์โดยใช้พื้นที่น้อยกว่าบ้านทั่วไปประมาณ 15 เท่า แต่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เพียงพอ
สามารถนำน้ำจากธรรมชาติมาใช้ได้อย่างเพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำปะปา และไม่ทำลายสภาพแวดล้อม
มีการประยุกต์ใช้พลังงานหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันได้แก่ การหมุนเวียนน้ำใช้ การใช้ก๊าซชีวภาพและปุ๋ยชีวมวล
การประยุกต์เทคโนโลยียุคใหม่ซึ่งเหมาะสมกับประเทศไทยในยุคอนาคต เช่น ระบบปรับอากาศ การทำความเย็นโดยใช้การระเหยของน้ำแต่ไม่นำความชื้น เป็นต้น
คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร สูงกว่าบ้านทั่วไปมาก เช่นการควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร ความสวยงามของอาคารสถานที่ ความเป็นอยู่ที่สุขสบาย เป็นต้น
A. ประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน(Energy Efficiency Potential) ซึ่งได้กล่าวถึงเทคนิคในการออกแบบเพื่อการประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุ และการประเมินศักยภาพการใช้พลังงานในอาคาร
B. คุณภาพอากาศภายในอาคาร(Indoor Air Quality) ซึ่งได้กล่าวถึงความบริสุทธิ์ของอากาศภายในอาคาร และการควบคุมคุณภาพอากาศให้คงที่
C. ความแปลกใหม่(Innovation Technology Concept) ซึ่งได้กล่าวถึงเทคโนโลยียุคใหม่ที่ใช้ในบ้านชีวาทิตย์
D. การใช้งานและการบำรุงรักษา(Maintenance and Operation) ซึ่งได้กล่าวถึงความสามารถในการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์นั้น
E. ต้นทุนการผลิต(Cost Effectiveness) ซึ่งได้กล่าวถึงวิธีการลดต้นทุนและความคุ้มค่าในการใช้งานบ้าน
F. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม(Environment Concern) ซึ่งได้กล่าวถึงอิทธิพลจากการก่อสร้างและการใช้งานบ้านชีวาทิตย์ ที่มีต่อสภาพแวดล้อม
ที่มา : http://www.vedagroups.com/
· จุฬาฯทำสำเร็จ บ้านชีวาทิตย์ ประหยัดพลังงาน
อาจารย์-นิสิตสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สุดเจ๋ง จับมือรวมทีมวิจัยสร้างบ้าน "ชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานใช้โซลาเซลล์ผลิตไฟฟ้าป้อนอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพไว้ใช้หุงต้มในครัวเรือน แถมมีไฟฟ้าเหลือใช้ชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ 1 ครั้ง วิ่งได้ 50 กิโลเมตร หากขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงทำเงินได้เดือนละ 1 พันบาท บ้านตัวอย่างจริงสร้างแล้ว ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี คาดต้นปีหน้าเสร็จสมบูรณ์
ในงานจุฬาฯ วิชาการปีนี้ ระหว่างวันที่ 6-9 ธ.ค.2545 เวลา 09.00-19.00 น. ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันและคณะต่างๆ ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการและงานวิจัยต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ "บ้านชีวาทิตย์" ผลิตพลังงานของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นบ้านที่ผลิตไฟฟ้าและก๊าซชีวภาพไว้ใช้ประโยชน์ได้เอง
ผศ.ดร.วรสัณฑ บูรณากาญจน์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า บ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงาน ได้เริ่มตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2537 ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2545 จึงเสร็จสมบูรณ์ บ้านหลังนี้เกิดขึ้นจากผลงานวิจัยและงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาตรี-โท-เอก ในกลุ่มวิชาเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ การดำเนินโครงงานระยะแรก ได้นำความรู้ดังกล่าวก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน บ้านที่ไม่ใช้พลังงาน จนกระทั่งมาถึงบ้านผลิตพลังงาน หัวหน้าทีมวิจัยโครงงานนี้ คือ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และทีมวิจัย ประมาณ 50 คน ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท ได้รับงบสนับสนุนจากจุฬาฯ และบริษัทเอกชน
บ้านหลังนี้มีส่วนประกอบสำคัญคือ แผงโซลาเซลล์ ประมาณ 60 แผง ติดตั้งอยู่บริเวณหลังคาและโรงจอดรถ, วัสดุตัวอาคารทำจากฉนวนกันความร้อน และวัสดุกันความชื้น กระจกฮีตตอบ มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน กรองแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสมกับการมองเห็น ส่วนหลังคาทำจากโลหะ ซึ่งช่วงเช้าจะมีความเย็นมาก ทำให้เกิดน้ำค้างขึ้นทุกวัน มีระบบเครื่องปรับอากาศไม่ใช้พัดลมเป่าระบายอากาศเช่น แอร์ปกติทั่วไป แต่ใช้วิธีปรับอุณหภูมิภายในบ้าน, มีถุงหมักก๊าซชีวภาพอยู่ใต้บ้าน เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพไว้ใช้ในครัวเรือน นำของเสีย เช่น น้ำในห้องน้ำ เศษอาหาร เศษหญ้า มาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน มีบ่อพักน้ำใต้โรงจอดรถ เพื่อนำน้ำจากฝนที่ตกลงมาและน้ำจากเครื่องปรับอากาศ และน้ำค้างจากหลังคามารวมกันที่บ่อนี้ เพื่อใช้ประโยชน์ในบ้าน สำหรับคน 6 คน เฉลี่ยคนละ 200 ลิตรต่อวัน
"ประเทศไทยมีอากาศร้อนชื้น การก่อสร้างบ้านหลังนี้จึงมีลักษณะพิเศษ คือ สร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้สบายด้วยการใช้วัสดุก่อสร้างที่ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์และความชื้นจากอากาศ มีการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50% ทำให้ลดความร้อนได้ถึง 80% อีกทั้งยังได้ใช้โซลาเซลล์นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าในบ้าน ภายในบ้านจะไม่มีฝุ่นละอองเข้ามาเพราะเปิดเครื่องปรับอากาศไว้ตลอด 24 ชม."ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า สาเหตุที่บ้านหลังนี้สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศได้ตลอดเวลา เพราะทีมวิจัยได้ออกแบบเครื่องปรับอากาศ ให้สามารถถ่ายเทความร้อนไปยังถังน้ำร้อนที่ติดตั้งไว้ในบ้าน สามารถผลิตน้ำร้อนมาใช้ประโยชน์ และระบายความร้อนไปยังสระว่ายน้ำและน้ำพุบริเวณรอบบ้าน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายอากาศ เช่น แอร์ทั่วๆ ไป ประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 70%
นอกจากนี้ กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด จะนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น แอร์ ตู้เย็น หากมีไฟฟ้าเหลือจะนำไปชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ได้ การใช้ไฟฟ้านี้ 1 ครั้ง รถยนต์จะวิ่งได้ 50 กม. หรือถ้าขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงก็จะขายได้ กิโลวัตต์ละ 2.50 บาท ทำให้มีรายได้เดือนละ 1,000 บาท
"ตอนนี้อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้สร้างต้นแบบบ้านชีวาทิตย์ผลิตพลังงานไว้ที่ อ.คลองหก จ.ปทุมธานี เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาค้นคว้า ใช้งบก่อสร้างตัวบ้านประมาณ 2 ล้านบาท ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ 60 แผง เป็นเงิน 1 ล้านบาท และสร้างสระว่ายน้ำประมาณ 5 แสนบาท รวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านบาท คาดว่าต้นปีหน้าจะเสร็จสมบูรณ์ ขณะนี้เหลือแค่เพียงการตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้านเท่านั้น" ผศ.ดร.วรสัณฑ กล่าว
ผู้ที่สนใจจะสร้างบ้านแบบนี้ ทางคณะสถาปัตย์ฯ จุฬาฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือเพราะถือเป็นงานการศึกษาและสร้างรายได้ให้แก่จุฬาฯ แต่ราคาบ้านคงไม่ตายตัวแล้วแต่แบบที่เจ้าของบ้านเสนอมาให้ก่อสร้าง ติดต่อได้ที่โทร. 0-2218-4370-1
ที่มา : คม ชัด ลึก 8 ธ.ค. 45 - 08/12/2002 23:41
โดยอาคารที่ได้รับการพิจารณา ให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น ของประเทศไทยข้างต้น ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด อาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่นของอาเซียนประจำปี 2547 ซึ่งได้ประชุมพิจารณาตัดสินขึ้น เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2547 ที่ผ่านมา ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีอาคารทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด ทั้ง 4 ประเภท รวม 18 อาคาร จาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย , สิงคโปร์ , มาเลเซีย , อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ และลาว ส่วนผลการตัดสิน ปรากฏว่า อาคารจากประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้
1) โรงแรมเพนนินซูล่า ได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภท New and Existing Building Category
2) ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารกรุงไทย เขาใหญ่ ได้รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภท Tropical Building Category
3) บ้านชีวาทิตย์ ได้รับการพิจารณาให้เป็นอาคารดีเด่น ประเภท Special Submission
ที่มา: ACAT News ปีที่ 5 ฉบับที่ 20 http://www.mitr.com/
· บ้านอนาคต'ชีวาทิตย์'ประหยัดพลังงาน-ลดมลภาวะ
ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไอเดียเก๋นำภูมิปัญญาไทยมาสร้างบ้าน ประหยัดพลังงานไว้อยู่อาศัยเอง โดยให้ชื่อว่า "บ้านชีวาทิตย์" หรือ Bio-Solar Home เป็นบ้านที่สามารถผลิตน้ำ และไฟฟ้าใช้ได้เองถึง 6,200 วัตต์ โดยตัวบ้านทำจากไม้ ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านเย็นกว่า อุณหภูมิภายนอกถึง 5 องศาเซลเซียส จึงประหยัดพลังงานในการใช้ เครื่องปรับอากาศได้ถึง 4 เท่า ต่างจากบ้านธรรมดา ที่อุณหภูมิภายในบ้านจะร้อนกว่าอุณหภูมิภายนอกอยู่ 3 องศา
ส่วนหลังคามีแผงโซล่าร์ เซลล์ แบบพิเศษ ที่นอกจากจะให้พลังงานแล้ว ยังสามารถนำน้ำค้างมาใช้เป็นน้ำสะอาด ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังมี bio-gas ที่เกิดจากการหมักใบไม้ และอุจจาระ โดยทำบ่อเกรอะไว้ 3 บ่อ เพื่อรองรับและกรองของเสีย ทำให้บ่อเกรอะที่ 3 มีน้ำใสและไม่มีกลิ่น สามารถปล่อยไปในชั้นใต้หิน เพื่อเป็นน้ำใต้ดินสำหรับหล่อเลี้ยงต้นไม้ คุณสมบัติพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ "บ้านชีวาทิตย์" คือ มีกระจกตัดเสียงได้ ดังนั้น เสียงรถตุ๊กตุ๊ก เสียงรถยนต์ และเสียงรบกวนต่างๆ ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่ในช่วงระดับกลาง ไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปในบ้านได้ แต่กระจกนี้จะไม่ตัดเสียงที่อยู่ในระดับสูงและระดับต่ำ ซึ่งเป็นเสียงที่เราชอบฟังกัน เช่น เสียงนกร้อง และเสียงลมพัดใบไม้ ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเพลิดเพลินกับเสียงดังกล่าวได้ตามปกติ นับเป็นบ้านที่ใช้เทคนิคในการก่อสร้างค่อนข้างยาก และเป็นนวัตกรรมที่ล้ำยุคไปประมาณ 15 ปี มีต้นทุนในการก่อสร้างประมาณ 3.5 ล้านบาท
เหตุที่สร้าง "บ้านชีวาทิตย์" ประหยัดพลังงานขึ้นมานี้ ดร.สุนทรกล่าวว่า เป็นเพราะตนเองเคยทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และยอมทิ้งเงินเดือนกว่า 5 แสนบาท มารับเงินเดือนเริ่มต้นในประเทศไทยที่ 9,600 บาท ทำให้ลำบากมากในช่วงแรก จึงคิดทำวิกฤติให้เป็นโอกาสที่ดี ด้วยการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานมาถึง 3 เวอร์ชั่น และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นออกแบบบ้านชีวาทิตย์ อันเป็นเวอร์ชั่นที่ 4...ผู้ที่สนใจเรื่องราวชีวิตและการออกแบบบ้านประหยัดพลังงานของ ดร.สุนทร สามารถติดตามรายละเอียดได้ในรายการจุดประกาย คืนพรุ่งนี้ (25 พ.ค.) เวลา 23.00 น. ทางช่อง 5
ที่มา : http://www.thairath.co.th/thairath1/2546/society/may/24/soc2.asp
· บ้าน...ในฝัน

บ้านอยู่แล้วเย็นเป็นสุข... คงไม่มีใครปฏิเสธ นี่คือบ้านในฝันของคนไทย

ก็ทุกวันนี้ บ้านโหลที่เขาสร้างขาย รวมทั้งบ้านที่สร้างเองไว้อยู่เอง ยากที่จะได้บ้านอยู่แล้วเย็น

มีแต่อยู่แล้วร้อน ไม่เป็นสุขกันทั้งนั้นค่ะ นั่งนอกบ้านเย็นสบายกว่า อยู่ในบ้านซะอีก...

จะให้บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ต้องเปิดแอร์ซดเงินค่าไฟนั่นแหละ

แต่บ้านในฝันอยู่แล้วเย็น ไม่ซดเงินค่าไฟ ...วันนี้เมืองไทยมีแล้วค่ะ

เป็นบ้านทดลองของ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ท่านผู้อ่านหลายคนคงจำอาจารย์ท่านนี้ได้...

6-7 ปีก่อนเคยสร้างบ้านประหยัดพลังงาน สร้างความฮือฮาให้กับวงการ ก่อสร้างเมืองไทย มาแล้ว บ้าน 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 350 ตารางเมตร... ติดแอร์หมดทุกห้อง ไม่เว้นห้องน้ำ

บ้านทั้งหลังใช้แอร์แค่ 3 ตันเท่านั้นเอง

ทั้งที่บ้านทั่วไปขนาดนี้จะติดแอร์ให้ฉ่ำทั่วบ้าน...ต้องติดแอร์ไม่ต่ำกว่า 20 ตัน

บ้านหลังนั้นถึงประหยัดพลังงานก็จริง แต่ยังไม่ดีพอ อ.สุนทร บอกว่ายังกินไฟอีกมาก... เลยออกแบบสร้างบ้านประหยัดพลังงานขึ้นมาใหม่อีกหลัง

ขนาดย่อมลงมาหน่อย ให้ชื่อว่า บ้านชีวาทิตย์ เป็นบ้าน 2 ชั้น ขนาด 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีพื้นที่ใช้สอย 200 ตารางเมตร ตามมาตรฐานบ้านเดี่ยวทั่วไป

ติดระบบปรับอากาศทั้งหลัง ไม่เว้นห้องน้ำ ...ใช้แอร์แค่ 9,000 บีทียูเท่านั้นเอง

ช็อกและตกใจ...ใช้แอร์ไม่ถึงตัน

ก็บ้านขนาดนี้ อุจจาระหมูอุจจาระหมาต้องติดแอร์ไม่ต่ำกว่า 12 ตัน ถึงจะเย็นทั้งหลังค่ะ

บ้านหลังเก่าประหยัดเงินค่าพลังงานหรือค่าไฟกว่าบ้านทั่วไปประมาณ 7 เท่า

บ้านชีวาทิตย์หลังใหม่ ประหยัดพลังงาน กว่าบ้านทั่วไป 15 เท่า

ไม่เพียงประหยัดเงินค่าไฟ...บ้านหลังนี้ไม่ต้องจ่ายค่าไฟด้วยค่ะ

บ้านหลังนี้ติดแผงโซลาร์เซลล์ ผลิตไฟฟ้าขายให้การไฟฟ้า วันหนึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ประมาณ 22 หน่วย...ใช้เองภายในบ้านประมาณ 15-17 หน่วย

ขายไฟฟ้าได้กำไรวันละ 5-7 หน่วย

บ้านทั่วไปอย่าว่าแต่ติดโซลาร์เซลล์ไว้ ขายไฟเลย ผลิตไฟฟ้าไว้เลี้ยงตัวเองยังเอาตัวไม่รอด เพราะต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 15 ชุด...ใช้พื้นที่หลังคาเท่ากับบ้าน 15 หลังนั่นแหละ ถึงจะผลิตกระแสไฟได้พอใช้เอง

ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่จูงใจให้ คนหันมาติดโซลาร์เซลล์...ไม่เหมือนบ้านชีวา-ทิตย์ใช้แผงโซลาร์เซลล์แค่ 2 ชุดเท่านั้นเอง

นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ ดร.สุนทร สร้างบ้านชีวาทิตย์ขึ้นมา... สร้างบ้านต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตัวเอง ผลิตไฟฟ้าเลี้ยงตัวเองได้ค่ะ

บ้านชีวาทิตย์ อยู่แล้วเย็น กินเงินค่าไฟน้อยกว่าบ้านทั่วไป มีเทคนิคเคล็ดลับตรงไหน... อาทิตย์หน้ามาว่ากันต่อค่ะ

http://www.thairath.co.th/thairath1/2546/column/save/jul/20_7_46.asp

· ชีวาทิตย์ บ้านพลังแสงอาทิตย์ของไทย
หลายคนคงได้ดูรายการ สัญญามหาชน เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มี.ค. 46 ที่ผ่านมา มีช่วงหนึ่งเกี่ยวกับ บ้านชีวาทิตย์ (mirror) บ้านพลังแสงอาทิตย์ประหยัดพลังงาน ที่น่าสนใจมากๆครับ ออกแบบโดย บริษัท วิริยะ เอ็นเนอร์ยี ดีไซน์ อาร์คิเท็คเจอร์ จำกัด แม้จะใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์ แต่ก็ยังสามารถใช้ได้ทั้ง แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น และคอมพิวเตอร์ควบคุม พร้อมแสดงแผนผังบ้านด้วย
น้ำที่ใช้แล้วก็มีการต่อท่อไปเลี้ยงต้นไม้ในสวน สระว่ายน้ำก็อุ่น เพราะใช้ความร้อนที่ระบายมาจากแอร์ ไม่ต้องมีน้ำประปา หรือไฟฟ้าก็ยังอยู่ได้ เคล็ดลับประหยัดพลังงานอีกอย่างที่เขาใช้ก็คือ ใช้ไฟฟ้าสำหรับทำน้ำแข็งในช่วงกลางคืน ซึ่งค่าไฟฟ้าถูก เพื่อเก็บไว้ใช้กับแอร์ในตอนกลางวันครับ
คิดดูซิครับราคาบ้าน 3.7 ล้านบาท (โซล่าเซลล์ 1.2 ล้านบาท) กับพื้นที่ใช้สอย 180 ตร.ม. 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ กับพลังงานที่มีให้ใช้ตลอดไป ก็คงไม่เรียกว่าแพงหรอกครับ สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ คุณอ๊อฟ ซึ่งเป็นเลขาของ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ ได้ที่เบอร์ 0-2645-0588 ต่อ 104 น่าเสียดายครับ ที่ไม่มีรูปให้ดู ใครมีรูปหรือ link ที่มีรายละเอียดมากกว่านี้ ก็ช่วย post ไว้ ด้วยนะครับ

ติดประกาศ พฤหัสบดี 20 มี.ค. 03@ 08:00:00 ICT โดย karin
http://knowmoretech.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1276
· บ้านชีวาทิตย์ Bio-Solar Home
29 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา: 17:30-17:55
บ้านทั่วไปก็ประหยัดพลังงานได้... ง่ายจัง







แม้ว่าบ้านที่เราอยู่อาศัยในปัจจุบันจะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถนำพลังงานจากธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ น้ำฝน น้ำค้าง และพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ มาใช้ภายในบ้านได้ แต่เราก็สามารถลดการใช้พลังงานภายในบ้านได้ไม่ยาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานแล้ว ในส่วนของผู้อยู่อาศัย ก็ได้รับประโยชน์ในเรื่องของการประหยัดค่าน้ำค่าไฟในแต่ละเดือนได้ไม่น้อย

การเลือกใช้หลังคาและผนัง เลือกใช้หลังคาและผนังบ้านที่สามารถกันความร้อนได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความร้อนให้กับผู้อยู่อาศัยในบ้านแล้ว ยังลดการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้อีกด้วย
การปรับแต่งสภาพแวดล้อม การทำเนินดิน ปลูกหญ้า และต้นไม้ในตำแหน่งที่เหมาะสมจะช่วยให้กระแสลมพัดเข้าสู่ตัวบ้านได้ดีขึ้น ช่วยลดอุณหภูมิให้กับตัวบ้านและบริเวณโดยรอบ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศหรือใช้น้อยลง
การใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ การจัดวางประตู หน้าต่างในทิศทางที่แสงสามารถผ่านเข้ามาได้มาก ก็เป็นวิธีที่จะช่วยลดการใช้แสงเทียมโดยเฉพาะในเวลากลางวัน แต่ก็ต้องคำนึงเรื่องของความร้อนด้วย เนื่องจากแสงสว่างมักมาคู่กับความร้อนจึงควรทำประตู หน้าต่าง ในบริเวณที่เหมาะสม เช่น ใต้ร่มของหลังคา
การควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนในตัวบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นภายในบ้าน การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่เหมาะสม ตลอดจนการประกอบอาหารนอกตัวบ้าน ก็สามารถช่วยให้เครื่องปรับอากาศทำงานน้อยลงได้
การผลิตพลังงานใช้ภายในบ้าน ของเสียจากการขับถ่าย เศษหญ้า ซากพืช ฯลฯ ที่เกิดขึ้นภายในบ้านสามารถนำมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้รดต้นไม้และสนามหญ้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาหมักเป็นก๊าซชีวภาพใช้แทนก๊าซหุงต้มได้อีกด้วย
การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ พลังงานบางอย่างสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย ๆ อย่างเช่น น้ำทิ้งจากการใช้งานในครัวเรือนเมื่อผ่านการบำบัดที่ถูกวิธีแล้ว ก็สามารถนำมารดน้ำต้นไม้/สนามหญ้าช่วยประหยัดน้ำได้กว่าพันลิตรต่อหลังต่อวัน
ที่มา : http://www.payai.com/programs/view.php?prog=PT&id=2004000002
· ‘ชีวาทิตย์’ บ้านแสงอาทิตย์พึ่งตนเอง
ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการ สถาปนิก บริษัท วิริยะ เอ็นเนอร์ยี อาร์คิเท็คเจอร์ จำกัด สร้างชื่อในการสร้างบ้านประหยัด พลังงาน ใช้กระแสไฟจากแผงโซลา เซลล์เพียงพอสำหรับผู้อยู่อาศัย 5 คน เทียบกับบ้านทั่วไปต้องใช้ถึง 7 แผง พร้อมติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ในครัว
บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ว่า หรือ บ้านชีวาทิตย์ ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการด้านการประหยัด พลังงาน และการใช้ปัจจัยพื้นฐาน ธรรมชาติให้มากที่สุด การออกแบบที่ จะให้เกิดการประหยัดพลังงาน เริ่มต้น จากการเลือกใช้ผนัง EIPS ที่จะช่วย ลดความร้อน การออกแบบและเลือกใช้ หลังคาบ้านที่ทำจากแอสฟันซ์ ทำให้ ความร้อนที่ส่งผ่านหลังคาน้อยมาก การใช้กระจกฮีทสต๊อปสำหรับกระจก ประตูหน้าต่างซึ่งป้องกันรังสียูวี และ รังสีอินฟราเรด การใช้สีผสมเม็ดทราย ทาภายนอกบ้าน เพื่อป้องกันรังสียูวี เป็นต้น ในส่วนของสภาพแวดล้อม โดยรอบ มีการปลูกต้นไม้ทั้งไม้ใหญ่ ไม้พุ่ม และต้นหญ้า ซึ่งล้วนเป็นปัจจัย สำคัญที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานระบบปรับอากาศเป็นแบบรวมศูนย์เพื่อ ควบคุมอุณหภูมิทั่วบ้าน ซึ่งประหยัด กว่าการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพียง ห้องเดียว รวมถึงการวางทิศทางของ ตัวบ้านให้สามารถรับกระแสลมเย็นได้ อย่างเต็มที่ พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ผลิตจาก แผงโซลาเซลล์ขนาด 128 ตารางเมตร มีระบบสำรองกระแสไฟ 3 วัน ปริมาณ ไฟฟ้าที่ได้ เพียงพอสำหรับ 4-5 คน ภายใต้การใช้ไฟฟ้าปกติ ซึ่งรวมถึง เครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำอุ่น หากเปรียบเทียบกับบ้านทั่วไป ต้องใช้ แผงโซลาเซลล์ถึง 7 แผง จึงผลิตไฟฟ้า ได้เพียงพอความต้องการ ส่วนน้ำที่ ใช้สอยสะสมจากน้ำค้างจากหลังคาและ น้ำจากเครื่องปรับอากาศ นอกจากนี้ ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของ ระบบปรับอากาศถูกนำไปผลิตน้ำอุ่น พร้อมทั้งระบายความร้อนด้วยน้ำลง สระว่ายน้ำ สำหรับห้องครัวมีการใช้ พลังงานจากก๊าซชีวภาพ โดยมีแหล่ง พลังงานจากเศษอาหาร และห้องน้ำ บ้านชีวาทิตย์มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 180 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีห้องรับแขก ห้องสัมผัสธรรมชาติ ห้องครัว และ ส่วนรับประทานอาหาร
บ้านชีวาทิตย์ใช้งบก่อสร้าง ประมาณ 2.5 ล้านบาท และค่าแผง โซลาเซลล์ประมาณ 1.2 ล้านบาท บ้านตัวอย่างตั้งอยู่บริเวณคลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

ผู้เขียน:กองบรรณาธิการ
ประจำเดือน:เม.ย. - พ.ค. 46
อีเมล์: [email protected]
http://www.scimagazine.com/news/detail.asp?id=130
· 3 ล้านหลังบ้านพลังสุริยะ เลิกได้เลย! โรงไฟฟ้า
วันนี้น้ำมันแพง ถ้าวันหนึ่งน้ำมัน หมดโลก ... มนุษย์จะดำเนินชีวิต ต่อไปอย่างไร จะหันไปพึ่งพา พลังงานแบบไหนดี
พลังงานธรรมชาติใกล้ตัวที่สุด... แสงอาทิตย์
ศาสตราจารย์ ดร.สุนทร บุญญาธิการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ออกแบบบ้านชีวาทิตย์ บ้านพลังงานแสง อาทิตย์ บอกว่า การนำแสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า หากเทียบประสิทธิภาพในการผลิตกับความคุ้มทุน ต้องยอมรับว่า...ไม่คุ้ม
เซลล์แสงอาทิตย์จะรับเอาเฉพาะช่วงที่เป็นคลื่นแสงที่มองเห็นได้ มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า อัตราส่วนสูงสุดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน...รับแสงมา 100 ส่วน ผลิตไฟฟ้าได้ 15 ส่วน...
“คาดว่าอีก 5 ปี เทคโนโลยีจะพัฒนาผลิตไฟฟ้าได้ 16, 17 ส่วน”
ศ.ดร.สุนทร บอกว่า การพัฒนาเทคโนโลยีดำเนินไปช้ามาก อาจจะไม่เกี่ยวกับการตลาดโดยตรง ในแง่เทคโนโลยี...ตอนนี้...ได้แค่นี้ ก็ใกล้ถึงจุดสูงสุดในทางทฤษฎีแล้ว
หากไม่พูดถึงประสิทธิภาพ มองในแง่การใช้งาน ถ้าแต่ละบ้านหันมาใช้ไฟฟ้าจาก เซลล์แสงอาทิตย์กันมากขึ้น... แน่นอนว่า...ราคาเซลล์แสงอาทิตย์ต้องถูกลง
อีก 10 ปี...หากใช้เซลล์แสงอาทิตย์มากขึ้น ราคาจะลดลงครึ่งหนึ่ง
เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ไม่ได้รับความนิยมในแง่การใช้งาน จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปิดกั้น จากกลุ่มพลังงานหลักกลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือแก๊ส
“สิ่งที่เกี่ยวคือ...กระแสโลก เซลล์แสงอาทิตย์เหมือนเป็นสิ่งกระตุ้น ให้มนุษย์รู้จักคำว่าประหยัด”
การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ภายในบ้านชีวาทิตย์บนเนื้อที่ 140 ตารางเมตร ดร.สุนทร บอกว่า บ้านทั่วไป หากจะติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้ามาใช้ภายในบ้าน ประมาณคร่าวๆ จะต้องติดตั้งเซลล์ แสงอาทิตย์ 15 เท่าของพื้นที่หลังคาบ้าน จึงจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้เพียงพอกับบ้าน 1 หลัง
ทุกหลังคาบ้านทั้ง 15 หลัง จะต้องต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาดแผงละ 62.5 ตารางเมตร มาใช้...เพื่อบ้านหลังเดียว
การลงทุน...หลังคาเซลล์แสงอาทิตย์ 1 หลัง ราคา 1.5 ล้านบาท ใช้หลังคา 15 หลังคา...รวม 22 ล้านบาท
ปัญหานี้ทำให้การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ตามบ้านพักอาศัยไม่เป็นที่นิยม
ความจริงมีอยู่ว่า...เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์คงจะพัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้นกว่านี้ได้ยาก ถึงจะได้ก็ต้องใช้เวลา ทำให้ ดร.สุนทรปรับเปลี่ยนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ นำมาใช้กับบ้านที่ออกแบบ ให้เป็นระบบประหยัดพลังงานครบวงจร
ออกแบบบ้านให้ลดการใช้พลังงาน 15 เท่า แทนที่จะสร้างบ้านที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์จากบ้านมากถึง 15 หลัง
บ้านเซลล์แสงอาทิตย์เหลือ 1 หลัง...ต้นทุนเซลล์แสงอาทิตย์ก็ลดลงอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท
แผงเซลล์แสงอาทิตย์บ้านชีวาทิตย์ ผลิตกระแสไฟฟ้าสูงสุด...ช่วงแดดแรง แผงรับแสงเต็มที่ 6.45 กิโลวัตต์ชั่วโมง เฉลี่ยวันละ 22 กิโลวัตต์ชั่วโมง (หน่วย)
ขณะที่พลังงานไฟฟ้าต่อวัน บ้านทั้งหลังใช้จริงอยู่ที่ 17 หน่วย บ้านชีวาทิตย์ยังมีไฟฟ้าเหลือวันละ 5 หน่วย
เทียบกับบ้านทั่วไป เนื้อที่ใช้สอยใกล้เคียงกัน หากติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหลัง และมีการใช้งานตลอดเวลา จะมีความต้องการใช้พลังงานวันละ 315 หน่วย
ไฟฟ้าที่เหลือ...วันละ 5 หน่วย ดร.สุนทรบอกว่า เผื่อเอาไว้...เติมพลังงานให้รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าในอนาคต
“ตอนนี้...ยังไม่มีรถไฟฟ้าใช้ ก็นำไฟที่เหลือขายให้การไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาท...ตกวันละ 20 บาท...วันไหนไม่ใช้ไฟ ไม่เปิดแอร์ ก็ขายไฟ...คืนการไฟฟ้าได้มาก”
แม้ว่าบ้านชีวาทิตย์จะผลิตไฟฟ้าได้เอง ลดการใช้พลังงานจากตัวบ้านได้ถึง 15 เท่า แต่ผู้อาศัยในบ้านหลังนี้ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ต้องอยู่อย่างยากลำบาก ไม่ต้องจำกัดการใช้ไฟฟ้า ผู้อยู่ยังได้รับความสะดวกสบายเหมือนเดิม
แนวคิดในอดีต...บ้านโซลาร์เซลล์ หรือบ้านพลังงานแสงอาทิตย์ ทำไม่ได้ เพราะมีราคาแพง...ก็เป็นเรื่องจริง
วันนี้บ้านชีวาทิตย์พิสูจน์แล้วว่า...ทำได้ ด้วยการออกแบบบ้านให้ ประหยัดพลังงานในตัวเอง 15 เท่า...ลดต้นทุนการใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์
บ้านชีวาทิตย์ถือเป็นบ้านหลังแรกๆของโลก ที่ประหยัดพลังงานได้ครบวงจรขนาดนี้ ถ้าเป็นบ้านทั่วไป...คงทำได้ยาก
“ที่พอจะทำกันได้...มีอย่างเดียว ต้องลดการใช้พลังงานในบ้านทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแอร์ ทีวี หลอดไฟ...”
ดร.สุนทร บอกว่า ในเมื่อพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีต้นทุนสูงมาตลอด ทางเดียวที่จะทำได้ดีที่สุด คือ...ออกแบบบ้านให้ลดการใช้พลังงาน ...ให้น้อยที่สุด
“นำแสง นำลม นำน้ำจากธรรมชาติมาใช้...เอาทุกอย่างในธรรมชาติที่ไม่มีต้นทุน มาใช้ประโยชน์หมุนเวียนภายในบ้าน”
ด้วยแนวคิดจากพื้นฐาน...ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีความสมบูรณ์แบบทางธรรมชาติ ที่มีประโยชน์มาก ต้องนำธรรมชาติมาใช้ให้มากที่สุด
ส่วนไหนที่ธรรมชาติไม่มี...สร้างไม่ได้ ก็เติมด้วยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้า... มีส่วนที่เป็นระบบกลไก ปิดเปิดแอร์อัตโนมัติ
แม้ว่าบ้านชีวาทิตย์จะถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังมีปัญหาผลิตไฟฟ้า ไม่ได้ในช่วงกลางคืน
ข้อจำกัดข้อนี้...ดร.สุนทรแก้ปัญหา ด้วยการใช้พลังงานลม และพลังงานไบโอก๊าซจากขยะและเศษไม้ ชดเชยความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืน
ไม่เฉพาะไฟฟ้าเท่านั้นที่บ้านชีวาทิตย์ผลิตได้เอง บ้านหลังนี้ยังผลิตน้ำได้อีกด้วย
การผลิตน้ำอาศัยหลักการ...จับน้ำจากฟ้า ไม่พึ่งพาน้ำประปา ส่วนหนึ่งแสวงหาน้ำ ด้วยการเก็บน้ำฝน สร้างจิตสำนึกใช้น้ำอย่างประหยัด และหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น มีปริมาณน้ำในอากาศมาก เทคนิคที่ใช้ สร้างน้ำ...ออกแบบบ้าน ให้อุณหภูมิผิวหลังคาบ้านต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศภายนอก
“เปรียบผิวหลังคาเป็นเครื่องช่วยกลั่นไอน้ำในอากาศ พื้นที่หลังคา 1 ตารางเมตร ผลิตน้ำได้ 0.3 ลิตรต่อวัน...หลังคาบ้านชีวาทิตย์ 270 ตารางเมตร จะผลิตน้ำได้ถึงวันละ 80 ลิตร”
บ้านชีวาทิตย์ บ้านที่ไม่ต้องซื้อน้ำ ซื้อไฟ...ไม่น่าจะเป็นไปได้ก็เป็นไปแล้ว ถึงวันนี้หากคิดจะ ปรับเปลี่ยนให้บ้านทั่วประเทศเป็นอย่างบ้านชีวาทิตย์... คงจะเป็นเรื่องยากอยู่ดี
“หลายคน...ยังมองไม่เห็นถึงประโยชน์ของบ้านแบบนี้ กลุ่มบ้านจัดสรรก็มุ่งหวังแต่ผลกำไร หากมองว่าราคาที่เพิ่มขึ้น 1.5 ล้านบาท เป็นค่าโซลาร์เซลล์ ค่าสระน้ำระบายความร้อน... หากตัดส่วนนี้ บ้านหลังนี้ก็เป็นบ้านราคาปกติ”
สร้างบ้านชีวาทิตย์ ลงทุนครั้งเดียว...ไม่มีต้นทุนเพิ่ม เวลาผ่านไปก็มีแต่ประหยัด ก็เหมือนกับว่า...ลงทุนแล้วคืนทุนเลย
ดร.สุนทรให้ข้อมูลเอาไว้คิดกันเล่นๆ ถ้าประเทศไทยมีบ้านแบบนี้ สัก 3 ล้านหลัง...โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั่วประเทศ อาจไม่จำเป็น
“บ้านชีวาทิตย์ผลิตไฟฟ้าสูงสุดได้วันละ 6,200 วัตต์ บ้าน 3 ล้านหลัง...ผลิตได้ 18,600 เมกะวัตต์...เท่ากับ...กำลังผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าทั้งประเทศ!!”
หากเป็นเช่นนั้น โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ก็อาจต้องเปลี่ยนไปใช้ในภาค อุตสาหกรรม ประเทศไทยในอนาคต อาจไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าอีกแล้ว...”
     
 
what is notes.io
 

Notes.io is a web-based application for taking notes. You can take your notes and share with others people. If you like taking long notes, notes.io is designed for you. To date, over 8,000,000,000 notes created and continuing...

With notes.io;

  • * You can take a note from anywhere and any device with internet connection.
  • * You can share the notes in social platforms (YouTube, Facebook, Twitter, instagram etc.).
  • * You can quickly share your contents without website, blog and e-mail.
  • * You don't need to create any Account to share a note. As you wish you can use quick, easy and best shortened notes with sms, websites, e-mail, or messaging services (WhatsApp, iMessage, Telegram, Signal).
  • * Notes.io has fabulous infrastructure design for a short link and allows you to share the note as an easy and understandable link.

Fast: Notes.io is built for speed and performance. You can take a notes quickly and browse your archive.

Easy: Notes.io doesn’t require installation. Just write and share note!

Short: Notes.io’s url just 8 character. You’ll get shorten link of your note when you want to share. (Ex: notes.io/q )

Free: Notes.io works for 12 years and has been free since the day it was started.


You immediately create your first note and start sharing with the ones you wish. If you want to contact us, you can use the following communication channels;


Email: [email protected]

Twitter: http://twitter.com/notesio

Instagram: http://instagram.com/notes.io

Facebook: http://facebook.com/notesio



Regards;
Notes.io Team

     
 
Shortened Note Link
 
 
Looding Image
 
     
 
Long File
 
 

For written notes was greater than 18KB Unable to shorten.

To be smaller than 18KB, please organize your notes, or sign in.